การแมะ หรือ การจับชีพจร เป็นวิธีวินิจฉัยผู้ป่วยของแพทย์จีนโบราณที่สำคัญที่สุดวิธีหนึ่ง แพทย์เริ่มเรียนรู้วิธีการรักษาผู้ป่วยด้วยการแมะ หรือจับชีพจรตามส่วนต่างๆ ของร่างกายมานานนับพันๆ ปีแล้ว การที่แพทย์จะตรวจวินิจฉัยได้แม่นยำหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และความชำนาญของแพทย์ท่านนั้นๆ
ชีพจรนั้นเกิดจากการที่หลอดเลือดขยายตัวและหดตัว เมื่อเลือดไหลผ่านเข้าไปในหลอดเลือดแดง กล้ามเนื้อรอบหลอดเลือดจะเกิดการยืดหยุ่น เมื่อเกิดการบีบตัวของหัวใจ เลือดจะถูกส่งเข้าไปในหลอดเลือด ชีพจรก็จะเต้น ในคนปกติทั่วไป อัตราการเต้นของชีพจรจะแตกต่างไปตามอายุ เพศ วัย เวลา ร่างกาย และจิตใจ เด็กชีพจรจะเต้นเร็วกว่าผู้ใหญ่ ชีพจรผู้หญิงจะมากกว่าผู้ชาย ออกกำลังกายจะเต้นมากกว่าตอนพักผ่อน ช่วงบ่ายจะเต้นมากกว่าช่วงเช้า และผู้ใหญ่ ผู้ชายจะมีอัตราการเต้นของชีพจรประมาณ 60-80 ครั้ง/นาที และผู้ ใหญ่ที่เป็นผู้หญิงการเต้นของชีพจรจะอยู่ที่ประมาณ 70-90 ครั้ง/นาที
ตำแหน่งของชีพจรแต่ละจุด บ่งบอกถึง การทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย ดังนี้
-
จุดชุ่น (寸)จุดนี้อยู่ที่ข้อมือซ้ายด้านใน ตรงหัวกระดูก โปนของข้อมือด้านนิ้วหัวแม่มือ จะบ่งบอกถึงสุขภาพของหัวใจ ลำไส้เล็ก
-
จุดกวน (关)จุดนี้อยู่ที่แขนซ้ายด้านในใกล้กับข้อมือ ถัดจาก จุดชุ่น ขึ้นมา บอกเกี่ยวกับสุขภาพของ ตับ และถุงน้ำดี
-
จุดฉื่อ (尺)จุดนี้อยู่ที่แขนซ้ายด้านในขึ้นมาทิศ ทางข้อศอก ถัดจาก จุดกวน ขึ้นมา บอกเกี่ยวกับสุขภาพของ ไต กระเพาะปัสสาวะ
-
จุดชุ่น (寸) จุดนี้อยู่ที่ข้อมือขวาด้านใน ตรงหัวกระดูก โปนของข้อมือด้านนิ้วหัวแม่มือ จุดนี้บอกเกี่ยวกับสุขภาพของปอด ช่วงอก หลอดลม และส่วนบน
-
จุดกวน (关)จุดนี้อยู่ที่แขนขวาด้านในใกล้กับข้อ มือถัดจาก จุดชุ่น ขึ้นมา บอกถึงสุขภาพของกระเพาะอาหาร ม้าม ลำไส้ใหญ่ และส่วนกลาง
-
จุดฉื่อ (尺) จุดนี้อยู่ที่แขนขวาด้านในขึ้นมาทิศ ทางข้อศอก ถัดจาก จุดกวน ขึ้นมา จุดนี้บอกเกี่ยวกับสุขภาพของ กระเพาะปัสสาวะ ไต และส่วนล่าง
การแมะนับเป็นหลักสำคัญของการตรวจวินิจฉัยหาความผิดปกติต่างๆ ภายในร่างกาย ซึ่งต้องอาศัยความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ของแพทย์ ต้องทำควบคู่ไปกับทักษะการดู การดม และการสอบถาม เพื่อการวินิจฉัยโรคและกลุ่มอาการที่ถูกต้อง ครบถ้วน และแม่นยำนั่นเอง
ขอบคุณข้อมูลจาก อาจารย์เกรียงไกร เถลิงพล (ลี)
สอบถาม ตรวจชีพจร แมะชีพจร ปรึกษาปัญหาสุขภาพ บำบัดโรค โทร 098-931-2266